โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิต



SPSS เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ บริษัทจัดจำหน่าย SPSS ถูกซื้อโดย IBM เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 และปัจจุบันใช้ชื่อบริษัทว่า "SPSS: An IBM Company"

SPSS เดิมชื่อว่า "Statistical Package for the Social Sciences" (ชุดโปรแกรมสถิติเพื่อสังคมศาสตร์) ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2511 หลังจากถูกพัฒนาโดย Norman H. Nie และ C. Hadlai Hull Norman Nie ในขณะนั้นเป็นนักศึกษารัฐศาสตร์ภาคบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์วิจัยที่ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และศาสตราจารย์เกียรติคุณสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก SPSS เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ทางสถิติในสังคมศาสตร์ มันถูกใช้โดยนักวิจัยตลาด นักวิจัยสุขภาพ บริษัทสำรวจความคิดเห็น รัฐบาล นักวิจัยการศึกษา บริษัทการตลาด ฯลฯ คู่มือการใช้งาน SPSS ฉบับแรก (Nie, Bent & Hull, 1970) ถูกอธิบายว่าเป็นหนึ่งใน "หนังสือที่ทรงอิทธิพลที่สุดในสาขาสังคมวิทยา นอกเหนือไปจากการวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว การจัดการข้อมูล




ในปัจจุบันการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาทุกสาขา จะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ หรืองานวิจัย หรือ Thesis หรือ Dissertation เพื่อนำเสนอขอรับปริญญามหาบัณฑิต หรือดุษฎีบัณฑิต ในสถาบันที่ศึกษาอยู่ ตลอดจนการทำวิจัยของนักวิจัยที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ หรือครูที่ทำวิจัยเพื่อขอเลื่อนตำแหน่ง ปรับเงินเดือน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงคุณภาพ และข้อมูลที่อยู่ในรูปเชิงปริมาณ แต่ในการทำวิจัยทางสาขาการวัดผลและวิจัยการศึกษา ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเชิงปริมาณ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยผู้วิจัยให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม ซึ่งโปรแกรม SPSS ก็เป็นโปรแกรมหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากใช้งานได้ง่าย และสามารถหามาใช้ได้ง่าย นอกจากนี้โปรแกรมยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อันจะเห็นได้จาก รุ่นของโปรแกรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบัน SPSS for Windows พัฒนามาถึงรุ่นที่ 13 แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่คู่มือการใช้โปรแกรมจะต้องมีการพัฒนาตามให้ทัน เพื่อเสนอคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโปรแกรมและคุณสมบัติใหม่ที่ปรากฏในโปรแกรมรุ่นใหม่ ให้ผู้ใช้ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องกับลักษณะงานวิจัยของตน
เอกสารชุดนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านได้บ้างไม่มากก็น้อย หากท่านใดที่อ่านแล้วพบข้อผิดพลาด หรืออยากเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในครั้งต่อไป ผู้เขียนก็ยินดียิ่ง และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
** เอกสารทั้งหมดนี้บันทึกเป็นนามสกุล .pdf ท่านสามารถเปิดได้โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Adobe Acrobat Reader for PC และ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมAdobe Acrobat Reader for Pocket PC สำหรับเครื่อง Pocket PC



โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร

อ้างอิงจาก น.ต.หญิง จุฬาวลัย สุระอารีย์ และร.ต.สันติ งามเสริฐ 
อาจารย์ เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์ ใน เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
http://spssa.blogspot.com/2013/02/spss.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

(Reengineering) ความหมายการปรับรื้อระบบ

การพัฒนาระบบและแผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)

การใช้งานโปรแกรม Weka ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล