Knowledge Management , Tacit Knowledge , Explicit Knowledge


การจัดการความรู้ ( Knowledge Management - KM )

 คือ การนำเอาความรู้มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย ปัจจัยความอยู่รอดขององค์กร
- ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
- นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
- ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
- ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์กร
- ผู้นำองค์กร มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี คือ วิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า

ขบวนการรวบรวมความรู้จากการถ่ายทอด Tacit Knowledge ให้เป็น Explicit Knowledge
ความรู้ของคนเรานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. ความรู้ที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออธิบายได้ การถ่ายโอนความรู้ประเภทนี้ทำได้ยาก จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกฝน (อยู่ในสมองคน เชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด)
2. ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ฟังก์ชั่นหรือสมการได้ (อยู่ในตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูล)

ถ้าหากเปรียบความรู้ระหว่าง 2 อย่างนี้ ดังเช่นภูเขาน้ำแข็ง ที่ลอยอยู่ในน้ำ
Explicit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ มีเพียงนิดเดียวที่คนทั่วไปมองเห็น เพราะเป็นส่วนที่เห็นชัดเจน มองง่าย
Tacit เปรียบได้กับ ส่วนของน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ เป็นก้อนใหญ่โตมหึมาหลบอยู่ใต้น้ำ คนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงเปรียบเสมือนประสบการณ์ของคน ที่ซึมซับ ฝังลึกอยู่ในตัวคนมากมาย ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายทอดออกมา คนอื่นๆที่ไม่มีความรู้ หรือรู้ไม่เท่าทัน ก็ไม่สามารถนำความรู้ที่ดีๆนั้นมาใช้ได้

ความรู้ในองค์กรมี 2 ชนิด คือ

1. ความรู้ส่วนบุคคล ( Personnel Knowledge ) คือ ความรู้ที่แต่ละบุคคลมีอยู่ซึ่งได้จากการปฏิบัติงาน แต่บางคนจะหวงความรู้ และไม่ถ่ายทอดให้ผู้อื่น หรือการถ่ายทอดจะถ่ายให้เพียงบางส่วน และจะกั๊กความรู้ไว้บางส่วน
2. ความรู้ขององค์การ ( Organization Knowledge ) คือ ความรู้ที่บุคคลปฏิบัติงานอยู่กับองค์การมานาน จนกระทั่งมีความชำนาญ ดังนั้น หากบุคคลลาออกจากองค์การ หรือ เกษียณอายุ ความรู้ของงานก็จะหายไปจากองค์การ เพราะไม่มีการบันทึกสาระสำคัญของงานเอาไว้ ดังนั้นงานที่สำคัญๆจึงควรต้องบันทึกและต้องจัดเก็บไว้เป็นระบบ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังที่เข้ามาใหม่ ให้สามารถปฏิบัติงานขององค์การไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดการชะงักของงาน และไม่เกิดความเสียหายต่อองค์การ

*** แหล่งข้อมูล ***
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
สำนักงานผู้อำนวยการ ชั้น 5 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

119 ม.9 ถนนลำปาง-แม่ทะ ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

(Reengineering) ความหมายการปรับรื้อระบบ

การพัฒนาระบบและแผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)

การใช้งานโปรแกรม Weka ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล