Corporate Social Responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร


ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร


CSR ย่อมาจากคำว่า Corporate Social Responsibility แปลเป็นไทย หมายถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ความหมายโดยรวมของ CSR ก็คือ การดำเนินกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ให้ความสำคัญและคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร หรือนำทรัพยากรที่อยู่นอกองค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรและส่วนร่วม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

หลักการ CSR คือ 
การดำเนินกิจกรรม CSR ไม่มีรูปแบบหรือแบบแผนตายตัว องค์กรต้องกำหนดรูปแบบหรือกิจกรรมรวมทั้งรายละเอียดและวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับองค์กร หลักการสำคัญของ CSR ก็คือ ความรับผิดชอบทางสังคม โดยเฉพาะการทำธุรกิจกับสังคมจะต้องอยู่ร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
กิจกรรมเกี่ยวกับ CSR ได้แก่อะไรบ้าง
จากความหมายของ CSR เป็นอักษรย่อของคำว่า Corporate Social Responsibility ซึ่งมีความหมายถึงกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
·         C (Corporate) หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร
·         S (Social) หมายถึง กลุ่มคนหรือสังคม มีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนารวมถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบที่มีความสัมพันธ์กัน
·         R (Responsibility) หมายถึง การยอมรับทั้งผลดีผลเสียข้อดีข้อด้อยในกิจกรรมที่ได้ทำ รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษา แก้ไข สิ่งที่ส่งผลกระทบไปยังผู้ที่มีส่วนได้เสียในสังคมนั้นๆ
กิจกรรมเกี่ยวกับ CSR จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการคิด การพูด การกระทำ ซึ่งรวมถึงการวางแผน และการบริหารงานขององค์กรต่างๆ เช่น องค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจ ในความรับผิดชอบต่อสังคม แนวคิดสำหรับกิจกรรม CSR มุ่งเน้นไปที่การสร้างให้องค์กรมีความยั่งยืนในเรื่องของกิจกรรมการทำความดี เป็นแนวคิดที่มีรากฐานมาจากหลักคุณธรรม
กลุ่มกิจกรรมเกี่ยวกับ CSR
1.       กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคธุรกิจ เป็นการทำธุรกิจที่หาผลกำไรอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน การป้องกันหรือกำจัดมลพิษในกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน
2.       กลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคม ได้แก่กิจกรรมที่ทำนอกเหนือเวลาทำงานปกติ เป็นการดำเนินกิจกรรม ขององค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไร เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมในด้านต่างๆ อาทิเช่น การแจกจ่ายสิ่งของเป็นอาสาสมัครช่วยบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ หรือ กิจกรรม
3.       กลุ่มกิจการเพื่อสังคม แตกต่างจากกิจกรรมของกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ แสวงหาผลกำไรให้กับตนเอง ได้แก่ มูลนิธิ และองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ
สรุป CSR คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้หลักคุณธรรมและการจัดการที่ดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวอย่าง
ภาพกิจกรรม CSR โครงการช่วยเหลือบ้านผู้พิการ การุณยเวศน์ บริษัท Alla PLC





























































 *** แหล่งข้อมูล ***
- บริษัท ออลล่า จำกัด (มหาชน)
- iM2 Market

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

(Reengineering) ความหมายการปรับรื้อระบบ

การพัฒนาระบบและแผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)

การใช้งานโปรแกรม Weka ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล